วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556




สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nationsหรือ อาเซียน เป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชาเวียดนาม และพม่า อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,570 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน ในปี พ.ศ.2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ  คิดเป็นลำดับที่ ของโลกเรียงตามจีดีพี มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ
อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพอาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติหลังจาก พ.ศ. 2527เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558




ประเทศไทย 




ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนและมลายู ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดประเทศพม่าและลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด
ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคนกับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิพัทยาภูเก็ตกรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 334,026 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามที่ประมาณใน พ.ศ. 2553 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่าใหญ่เป็นอันดับที่ 30 ของโลก
ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อันมีความยิ่งใหญ่กว่า และมีการติดต่อกับชาติตะวันตก อาณาจักรอยุธยามีอายุยืนยาว 417 ปีก็เสื่อมอำนาจและล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนาอาณาจักรธนบุรี เหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักร นำไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ช่วงต้นกรุง ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาหลายฉบับ และการเสียดินแดนบางส่วน กระนั้น ไทยก็ยังธำรงตนมิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ๆ ต่อมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย และไทยได้เข้ากับฝ่ายอักษะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนช่วงสงครามเย็น ไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ทหารเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยอย่างมากหลังปฏิวัติสยามอยู่หลายสิบปี กระทั่งมีการตั้งรัฐบาลพลเรือน และเข้าสู่ยุคโลกเสรีในปัจจุบัน



ประเทศลาว



ลาว
 (ลาวລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ลาวສາທາລະນະລັດປະຊາທິປະໄຕປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ສປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง


ที่ตั้งและอาณาเขต

ประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างละติจูดที่ 14 - 23 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 100 - 108 องศาตะวันออก มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นภาคพื้นดิน 230,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 km² โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องด้วยตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ความยาวพื้นที่ประเทศลาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,700 กว่ากิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศของลาวอาจแบ่งได้เป็น 3 เขต คือ

  1. เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ
  2. เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดนกัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)
  3. เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่างๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสะหวันนะเขด ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง และที่ราบจำปาสักทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา
ทั้งนี้ เมื่อนำเอาพื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูงมารวมกันแล้ว จะมากถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศลาวทั้งหมด โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศลาวอยู่ที่ภูเบี้ย ในแขวงเชียงขวาง วัดความสูงได้ 2,817 เมตร (9,242 ฟุต)
ประเทศลาวมีแม่น้ำสายสำคัญอยู่หลายสาย โดยแม่น้ำซึ่งเป็นสายหัวใจหลักของประเทศ คือ แม่น้ำโขง ซึ่งไหลผ่านประเทศลาวเป็นระยะทาง 1,835 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสำคัญทั้งในด้านเกษตรกรรม การประมง การผลิตพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมจากลาวเหนือไปจนถึงลาวใต้ และการใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ แม่น้ำสายสำคัญของลาวแห่งอื่นๆ ยังได้แก่
  • แม่น้ำอู (พงสาลี - หลวงพระบาง) ยาว 448 กิโลเมตร
  • แม่น้ำงึม (เชียงขวาง-เวียงจันทน์) ยาว 353 กิโลเมตร
  • แม่น้ำเซบั้งเหียง (สะหวันนะเขด) ยาว 338 กิโลเมตร
  • แม่น้ำทา (หลวงน้ำทา-บ่อแก้ว) ยาว 523กิโลเมตร
  • แม่น้ำเซกอง (สาละวัน-เซกอง-อัดตะบือ) ยาว 320 กิโลเมตร
  • แม่น้ำเซบั้งไฟ (คำม่วน-สะหวันนะเขด) ยาว 239 กิโลเมตร
  • แม่น้ำแบ่ง (อุดมไซ) ยาว 215 กิโลเมตร
  • แม่น้ำเซโดน (สาละวัน-จำปาสัก) ยาว 192 กิโลเมตร
  • แม่น้ำเซละนอง (สะหวันนะเขด) ยาว 115 กิโลเมตร
  • แม่น้ำกะดิ่ง (บอลิคำไซ) ยาว 103 กิโลเมตร
  • แม่น้ำคาน (หัวพัน-หลวงพระบาง) ยาว 90 กิโลเมตร

ประเทศพม่า


พม่า หรือ เมียนมา (อังกฤษMyanmarพม่า: ) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา(อังกฤษRepublic of the Union of Myanmarพม่า:  [pjìdà̀uɴzṵ θà̀ɴməda̯ mjəmà nàiɴŋàɴdɔ̀] ปี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พม่ายังเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 24 ของโลก โดยมีประชากรกว่า 60.28 ล้านคน นับแต่ได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2491 ประเทศพม่าเผชิญกับหนึ่งในสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อที่สุดท่ามกลางกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่มากมายซึ่งยังแก้ไม่ตก ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ถึง 2554 ประเทศพม่าอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองถูกยุบอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2554 หลังการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2553และมีการตั้งรัฐบาลพลเรือนในนามแทน แต่ทหารยังมีอิทธิพลอยู่มาก
ประเทศพม่าอุดมไปด้วยทรัพยากร แต่เศรษฐกิจพม่าเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจด้อยพัฒนาที่สุดในโลก จีดีพีของพม่าอยู่ที่ 42,953 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.9 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำสุดในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดาและอีกหลายประเทศได้กำหนดการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อพม่า ระบบสาธารณสุขของพม่าเป็นหนึ่งในระบบสาธารณสุขที่เลวที่สุดในโลก องค์การอนามัยโลกจัดอันดับพม่าไว้อันดับที่ 190 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย
สหประชาชาติและอีกหลายองค์การได้รายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบในพม่า รวมทั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การข่มขืนเป็นระบบ แรงงานเด็ก ทาส การค้ามนุษย์ และการขาดเสรีภาพในการพูด ในช่วงปีหลัง พม่าและผู้นำทหารได้ผ่อนปรนต่อนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตและกำลังพัฒนาความสัมพันธ์อย่างช้า ๆ กับมหาอำนาจและสหประชาชาติ

ประเทศมาเลเซีย



มาเลเซีย (มาเลย์Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ มาเลเซียตะวันตก อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดประเทศไทยทางรัฐกลันตัน เประ ปะลิส และเกดะห์ และติดกับสิงคโปร์ทางรัฐยะโฮร์ ส่วนที่ 2 คือมาเลเซียตะวันออก อยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซียทุกส่วนของมาเลเซียตะวันตก แต่ล้อมรอบประเทศบรูไนดารุสซาลามด้วยรัฐซาราวักเพียงรัฐเดียว มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน

ลักษณะภูมิประเทศ

มาเลเซียตะวันตก มีภูเขาทอดยาวทางตอนกลางเกือบตลอด เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม ทำให้มีที่ราบ 2 ด้าน ที่ราบด้านตะวันตกกว้างกว่า เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ เขตปลูกยางพารา และขุดแร่ดีบุก

  1. มาเลเซียตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ที่ราบสูงอยู่ทางตอนใน มีที่ราบย่อม ๆ อยู่ตามชายฝั่งทะเล

ลักษณะภูมิอากาศ

ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม

ชื่อ

คำว่ามาเลเซียเคยถูกใช้เรียกหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก่อน
ชื่อของประเทศมาเลเซียถูกตั้งขึ้นเมือ พ.ศ. 2506 โดยมีความหมายรวมเอาสหพันธรัฐมาลายา สิงค์โปร์ ซาบาห์ซาราวัก และบรูไนเข้าด้วยกัน คำว่า มาเลเซียนี้เดิมเคยถูกใช้เป็นชื่อเรียกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นหมู่เกาะมาก่อน ซึ่งปรากฏหลังฐานจากแผนที่ที่ตีพิมพ์ในชิคาโกเมื่อปีพ.ศ. 2457 ในการตั้งชื่อประเทศมาเลเซียนั้นมีการนำเสนอชื่ออื่นๆ มากมายก่อนที่จะได้ผลสรุปให้ใช้ชื่อมาเลเซีย

ประวัติศาสตร์

ปรากฏความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นระหว่างหลายชนเผ่าพันธุ์และหลายวัฒนธรรมของประเทศ นอกจากชาวมาเลย์และกลุ่มชนพื้นเมืองแล้ว ยังมีผู้อพยพมาจากจีน อินเดีย อินโดนีเซียและส่วนอื่นของโลก ซึ่งรวมเข้าเป็นพลเมืองของมาเลเซีย มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่างน่าสนใจ อาจเนื่องมาจากการติดต่อสัมพันธ์นานปี กับภายนอกและการปกครองโดย ชาวโปรตุเกส ดัตช์ และ อังกฤษ ผลที่เกิดตามมาคือการวิวัฒน์ของประเทศจนเปลี่ยนรูปของวัฒนธรรมดังจะได้เห็น การผสมผสานได้อย่างวิเศษของ ศาสนา กิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีการแต่งกาย ภาษาและอาหาร ประเทศมาเลเซียได้รับเอกราชคืนจากอังกฤษมาเมื่อวันที่ 32 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1957เป็นสหพันธ์มาเลเซีย ต่อมาเมื่อรวมรัฐซาบาห์ และ รัฐซาราวัดเข้าด้วยแล้ว ประเทศมาเลเซียจึงได้ถือกำเนิดขึ้น

การเมือง

ในปัจจุบันประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ ประกอบไปด้วย เปรัค ปาหัง สลังงอร์ ไทรบุรี เคดาห์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัค และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีการปกครองในรูปแบบคล้ายอังกฤษกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประมุขแห่งรัฐมีตำแหน่งเป็นพระราชาธิบดี


ประเทศฟิลิปปินส์


ฟิลิปปินส์ (อังกฤษPhilippinesฟิลิปีโนPilipinas) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (อังกฤษRepublic of the PhilippinesฟิลิปีโนRepublika ng Pilipinas) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะจำนวน 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม.และมีลักษณะพิเศษคือเป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก นิวสเปน (พ.ศ. 2064-2441) และสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2441-2489) ได้ครองฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมเป็นเวลา 4 ศตวรรษ และเป็นสองอิทธิพลใหญ่ที่สุดต่อวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในสองชาติในเอเชียที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ (อีกชาติหนึ่งคือติมอร์-เลสเต) และเป็นหนึ่งในชาติที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด เป็นการผสมผสานกันระหว่างตะวันตกกับตะวันออก ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อาร์โนลด์ โจเซฟ ทอยน์บี (Arnold Joseph Toynbee) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้กล่าวไว้ในงานของเขาว่า ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศลาตินอเมริกาที่ถูกพัดพาไปยังตะวันออก โดยคลื่นทะเลยักษ์


ประเทศอินโดนีเซีย



อินโดนีเซีย (อินโดนีเซียIndonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซียRepublic Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนและทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย:Kalimantan) , ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซียIrian) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์ (อินโดนีเซียTimor)

 ประเทศสิงคโปร์


สิงคโปร์ (อังกฤษSingapore) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสิงคโปร์ (อังกฤษRepublic of Singapore) เป็นนครรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ละติจูด 1°17'35" เหนือ ลองจิจูด 103°51'20" ตะวันออก (1°17′N 103°51′E) ตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมาเลย์ ติดกับรัฐยะโฮร์ของประเทศมาเลเซีย และอยู่ทางเหนือของเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศเวียดนาม


ประเทศเวียดนาม (เวียดนามViệt Nam) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนามCộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (เวียดนามBiển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก

ประเทศบรูไน


บรูไน (มาเลย์Brunei) หรือ เนการาบรูไนดารุสซาลาม (มาเลย์Negara Brunei Darussalam) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชายฝั่งทางด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ พรมแดนทางบกที่เหลือจากนั้นถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวัก มาเลเซียตะวันออก
บรูไนเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลัก (ปริมาณการผลิตน้ำมันประมาณ 180,000 บาเรล/วัน)
บรูไนเป็นที่รู้จักและมีอำนาจมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยมีอาณาเขตครอบครองส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลู มีชื่อเสียงทางการค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้น ได้แก่ การบูรพริกไทย และทองคำ
หลังจากนั้นบรูไนเสียดินแดนและเสื่อมอำนาจลงเนื่องจากสเปน และฮอลันดาได้แผ่อำนาจเข้ามา
จนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ด้วยความวิตกว่าจะต้องเสียดินแดนต่อไปอีก บรูไนจึงได้ยินยอมเข้าอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษ และต่อมาในปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) บรูไนได้ลงนามในสนธิสัญญายินยอมอยู่เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ
ในปี พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) บรูไนสำรวจพบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่เมืองเซรีอา ทำให้บรูไนมีฐานะมั่งคั่งในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ได้มีการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคประชาชนบอร์เนียว (Borneo People’s Party) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล ต่อมาจึงได้ยึดอำนาจจากสุลต่าน แต่สุลต่านทรงได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารกูรข่าที่อังกฤษส่งมาจากสิงคโปร์ หลังจากนั้นได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน และต่ออายุทุก ๆ 2 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจากที่อยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษมาถึง 95 ปี บรูไนก็ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น